Ageing At Home
Ageing At Home
การวิจัยหนึ่งค้นพบว่า ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสังคมไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมสูงวัย เทรนด์ Home Hub หรือการออกแบบและตกแต่งบ้านเพื่อผู้สูงอายุ ผู้มีบ้านเป็นสภาพแวดล้อมหลักในบั้นปลายชีวิต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่เราอยากดูแลรวมทั้งตัวเราในอนาคตด้วย
พื้นที่ซึ่งคำนึงต่อกายภาพและจิตใจของคนสูงวัยจะทำให้คนในครอบครัวห่วงผู้สูงอายุในบ้านน้อยลง รวมทั้งฝั่งผู้สูงวัยเองยังสามารถดูแลตัวเองได้มากขึ้นทำให้อยู่บ้านอย่างมีความสุขอีกด้วย
Universal Design
การออกแบบพื้นที่เพื่อตอบโจทย์คนทุกวัยเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน เช่น ออกแบบบ้านให้มีพื้นที่ราบ Open Floor มากกว่าพื้นที่ต่างระดับมีทางลาดแทนขั้นบันไดเพื่อให้ง่ายต่อการเดิน ทางเข้าประตูที่กว้างขวางเพื่อไม่ให้เดินชนห้องน้ำมีการออกแบบอ่างอาบน้ำและที่ล้างมือให้เหมาะต่อการเคลื่อนไหวมีราวจับไม่ให้อันตรายมีพื้นที่ซึ่งสามารถหยิบจับข้าวของในบ้านด้วยตัวเองได้ง่ายมากที่สุดเป็นการออกแบบที่คำนึงเรื่องการเคลื่อนไหวทางกายภาพมาอย่างดี เพื่อให้พื้นที่ในบ้านช่วยดูแลคนที่เรารักยามแก่เฒ่า
Assisted Furniture
ในแต่ละช่วงวัย ย่อมมีเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะกับเราต่างกัน ที่เคยได้ยินกันบ่อย คือ ergonomic chair เก้าอี้เพื่อสุขภาพสำหรับคนวัยทำงาน สำหรับคนสูงวัยนั้นหากยกตัวอย่างแบบง่าย เฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมคือเฟอร์นิเจอร์ที่มีขอบมุมมนไม่มีมุมแหลมเพื่อป้องกันอันตรายโดยสมัยนี้เริ่มมีเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อคนสูงวัยโดยเฉพาะแล้วอย่างคอลเล็คชั่น no country for old men มีการออกแบบเป็นทรง T-cane, U-cane และ I-cane เพื่อช่วยการเคลื่อนไหว เช่น โต๊ะขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้สำหรับใช้เป็นทั้งไม้เท้าและโต๊ะวางถ้วยชาได้โต๊ะอ่านหนังสือที่ช่วยในการพยุงตัวให้ลุกขึ้นและเคลื่อนที่ได้เช่นกัน รวมทั้งเก้าอี้ที่มีแขนช่วยพยุงตัวให้ลุกได้ง่ายขึ้น
Bright Vibe
เมื่อแก่ตัวลงประสาทสัมผัสการมองเห็นจะไม่คมชัดเท่าเดิมทั้งระยะการมองเห็นและการรับรู้สีสันการออกแบบบ้านให้มีโทนสีสว่างและแสงไฟจ้าขึ้นจะช่วยเรื่องการมองเห็นและยังทำให้คนสูงวัยที่ต้องใช้เวลาอยู่บ้านมากรู้สึกอารมณ์ดีด้วยสีโทนอ่อนอย่างชมพูอ่อนและเขียวช่วยให้รู้สึกสงบในขณะที่สีสดใสโทนร้อนอย่างแดงหรือส้มก็ช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านคึกคักขึ้นมาได้เรามักคิดกันว่าสีสันสดใส Pop Colour จะเหมาะกับวัยรุ่นเท่านั้นแต่บ้านโมเดิร์นที่ตกแต่งโทนสีอย่างทันสมัยก็ตอบโจทย์คนสูงวัยไม่แพ้กัน
Memory Care Design
อีกคำถามหนึ่งที่ควรคำนึง คือ ถ้าในวันที่เราความจำไม่ดีหลงลืมง่ายเราจะออกแบบบ้านอย่างไรให้อยู่ง่ายวิธีที่เรียบง่ายที่สุด คือ ออกแบบบ้านให้เรียบง่ายเน้นความ Simple ทางเดินไม่สับสนไม่วางเฟอร์นิเจอร์ให้รกตาเกินไปนอกจากนี้จากการวิเคราะห์การตกแต่งบ้านที่เหมาะสมกับคนสูงวัยผู้มีอาการความจำเสื่อมพบว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้กระจกหรือพื้นผิวที่สะท้อนได้ให้ได้มากที่สุด เพราะจะทำให้สับสนเรื่องความทรงจำได้ง่ายเมื่อเห็นภาพสะท้อนรวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการตกแต่งโดยใช้ลวดลายที่เป็นแพทเทิร์นให้ได้มากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก
Cr. Ageinginplace.org / Architectmagazine / Designboom / Freshome.com